สับปะรด ภาษาอังกฤษ คือ “Pineapple”
และสับปะรดชื่อวิทยาศาสตร์ คือ “Ananas Comosus” เอ๋…แล้วถ้าเป็นพายสับปะรดจะใช้คำว่าอะไรละ คำตอบคือใช้คำว่า “Pineapple Pie” นั่นเอง (แอบงง) โดยสับปะรดนั้น ทางภาค อีสานจะเรียกว่า “บักนัด” ส่วนภาคเหนือจะเรียกว่า “มะนัด , มะขะนัด ,
บ่อนัด” และภาคใต้จะเรียกว่า “ย่านัด , ขนุนทอง” จะเรียกอะไรก็แล้วแต่มันก็คือสับปะรดนั่นเอง
สับปะรด มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ มีความ ทนทานต่อสถาพแวดล้อมต่างๆได้ดี และจัดว่าเป็นผลไม้เศรษฐกิจของบ้านเราด้วย แหล่งปลูกที่สำคัญๆมักจะอยู่ใกล้ๆทะเล เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี หรืออุตรดิษถ์ ลำปาง พิษณุโลก เป็นต้น สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูกในบ้านเราก็มีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ปัตตาเวีย (สัปปะรดศรีราชา ผลใหญ่ เนื้อฉ่ำสีเหลืองอ่อน), พันธุ์อินทรชิต (หรือพันธุ์พื้นเมือง), พันธุ์ภูเก็ต (ผลเล็กเปลือกหนา เนื้อสีเหลือง หวานกรอบ), พันธุ์นางแล (พันธุ์น้ำผึ้ง เนื้อจะเข้มเหลือง รสออกหวานจัด) เป็นต้น
สับปะรด จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพอีกชนิดหนึ่ง โดยประโยชน์ของสับปะรดนั้นมีอยู่หลากหลาย เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่างๆจำนวนมาก ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียมธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ถือว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพเราเป็นอย่างมาก และสรรพคุณสับปะรดทางสมุนไพรนั้น ก็ชวยรักษาอาการต่างๆได้อย่างหลากหลายเช่นกัน เช่น โรคบิด โรคนิ่ว ช่วยบรรเทาอาการแผล เป็นหนอง ขับปัสสาวะ เป็นต้น
การรับประทานสับปะรดแนะนำให้ทานสดๆ ไม่ผ่านกระบวนการประกอบอาหารหรือผ่านความร้อนเพื่อป้องกันการสูญเสียวิตามิน โดยสับปะรดที่เริ่มนิ่มแล้วและมีน้ำเหนียวๆไหลออกมา แสดงว่าเริ่มเน่าหรือสุกมากจนเกินไป จึงไม่ควรรับประทาน
คุณค่าทางโภชนาการของสับปะรด ต่อ 100 กรัม
พลังงาน 50 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 13.12 กรัม
เส้นใย 1.4 กรัม
ไขมัน 0.12 กรัม
วิตามินบี1 0.079 มิลลิกรัม 7%
วิตามินบี2 0.032 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี3 0.5 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี5 0.213 มิลลิกรัม 4%
วิตามินบี6 0.112 มิลลิกรัม 9%
วิตามินซี 47.8 มิลลิกรัม 58%
ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม 1%
ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแมงกานีส 0.927 มิลลิกรัม 44%
ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม 1%
ธาตุโพแทสเซียม 109 มิลลิกรัม 2%
ธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม 1%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่
(ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
ประโยชน์ของสับปะรด
ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง
ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอยู่เสมอ
ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยและความแก่ชรา
เป็นผลไม้ที่เมื่อรับประทานแล้วจะรู้สึกสบายท้องไม่รู้สึกอึดอัด ดื่มน้ำสับปะรดปั่นกันดีกว่า
ใช้นำมารับประทานเป็นผลไม้ หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงสับปะรด เป็นต้น
นำมาใช้แปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง ทำเป็นสับปะรดกวนก็ได้
การแปรรูปสับปะรดอื่นๆ เช่น การทําไวน์สับปะรด แยมสับปะรด เป็นต้น
ช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
ช่วยบรรเทาและรักษาอาการหวัดได้
ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีมากขึ้น
ช่วยให้สุขภาพในช่องปากแข็งแรง ป้องกันไม่ให้เกิดโรคเหงือก
สับปะรด สรรพคุณ ช่วยบรรเทาอาการร้อนกระสับกระส่าย หิวน้ำ
ช่วยแก้อาการท้องผูก ขับถ่ายไม่สะดวก
ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีน
ช่วยลดเสมหะในลำคอได้
ช่วยในการขับปัสสาวะ ปัสสาวะไม่ออก
ช่วยรักษาโรคนิ่ว
ช่วยรักษาโรคไตอักเสบ
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
ช่วยบรรเทาอาการของโรคบิด
เชื่อว่าช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคนิ้วล็อก (Trigger Finger)
ช่วยรักษาอาการบวมน้ำ
ช่วยรักษาอาการแผลเป็นหนอง
ช่วยแก้ปัญหาส้นเท้าแตก
ช่วยลดการอักเสบจากบาดแผล
เป็นยารักษาโรคผิวหนัง
ใบสด นำมาใช้เป็นยาถ่าย หรือยาฆ่าพยาธิ ได้
ผลดิบสามารถนำมาใช้ห้ามเลือดได้
ผลดิบสับปะรด ช่วยขับประจําเดือน
ส่วนของรากสับปะรด นำมาใช้เป็นยาแก้กระษัย บำรุงไตได้
หนามของสับปะรด ช่วยแก้พิษฝีต่างๆได้
แหล่งอ้างอิง : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, USDA Nutrient Database
No comments:
Post a Comment