Wednesday, February 26, 2014

ประวัติส่วนตัว  




นางสาว  เกวรี  มีทรัพย์ 

ชื่อเล่น น้ำ

ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาที่ 6 ห้อง 7          

โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัด กาญจนบุรี

อายุ 17 ปี  เกิดวันที่ 20 มีนาคม 2539

ส่วนสูง 165 เซนติเมตร  น้ำหนัก 49  กิโลกรัม

เพลงที่ชอบฟัง   ตั้งใจ เอ๊ะ จิรา

งานอดิเรก ช่วยกิจการทางครอบครัว /ฟังเพลง


คติประจำใจ ตั้งเป้าหมายให้ชัด แล้วไปให้ถึง

หน้าแรก




ผักและผลไม้ 5 สี








บรอกโคลี





บรอกโคลี
บรอกโคลี หรือ บร็อคโคลี่ ภาษาอังกฤษ Broccoli บร็อกโคลี่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea var. italica จัดอยู่ในตระกูล Cruciferae มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในทางตอนใต้ของยุโรป แถวๆประเทศอิตาลี และภายหลังได้มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย โดยแหล่งที่ปลูกบร็อคโคลี่มากที่สุดในบ้านเราก็คือ จังหวัดเพชรบูรณ์ กาญจนบุรี และกรุงเทพ
ลักษณะของบร็อคโคลี่ มีลักษณะเป็นทรงพุ่มใหญ่เก้งก้าง ลำต้นใหญ่และอวบ ลักษณะของดอกมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มช่อหนาแน่นมีสีเขียวเข้ม ส่วนลักษณะของใบจะกว้างมีสีเขียวเข้มออกเทา ริมขอบใบหยัก ตามปกติแล้วเราจะนิยมบริโภคในส่วนที่เป็นดอกและในส่วนของลำต้นจะนิยมรองลงมา แต่คุณค่าทางอาหารกลับมีอยู่มากในส่วนของลำต้น ดังนั้นการรับประทานทั้งสองส่วน ร่างกายก็จะได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดนั่นเองจากการศึกษาวิจัยของมหาลัยอิลลินอยส์พบว่าการรับประทานบร็อคโคลี่ โดยเฉพาะหน่อหรือต้นอ่อนของบร็อคโคลี่นั่น เมื่อรับประทานร่วมกับ
ต้นอ่อนของบร็อคโคลี่จะช่วยต่อต้านโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ! เนื่องจากในหน่อหรือต้นอ่อนบร็อคโคลี่นั้นมีเอนไซม์ไมโรซิเนส (Myrosinase) จะมีปริมาณมากกว่าต้นบร็อคโคลี่ที่โตแล้ว ซึ่งการรับประทานบร็อคโคลี่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจะต้องไม่ผ่านกรรมวิธีการปรุงอาหารที่มีระยะเวลานานจนเกินไป เพราะจะไปทำลายเอนไซม์ไมโรซิเนสและซัลโฟราเฟนได้
พันธุ์บร็อคโคลี่ ที่นิยมปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ สายพันธุ์เดซิกโก (De Cicco), พันธุ์ซากาต้า (Green Duke), พันธุ์กรีนโคเมท (Green Comet) และสายพันธุ์เจียไต๋
      
บร็อคโคลี่เป็นผักที่รสชาติหวานกรอบ สามารถรับประทานสดได้ หรือจะนำมาประกอบอาหาร ก็ได้หลากหลายเมนู อีกทั้งบร็อคโคลี่ยังมีคุณค่าทางสารอาหารที่สูงด้วย เพราะอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร เบต้าแคโรทีน วิตามิน C และสารอาหารอื่นๆอีกมากมาย รวมไปถึงสารเคมีทางธรรมชาติที่มีชื่อว่า ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) และสารอินดอล (indole) ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติช่วยต่อต้านมะเร็ง และการรับประทานบร็อคโคลี่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1/2 ถ้วย ก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพอย่างมาก
Tip : การเลือกซื้อบร็อคโคลี่ที่มีดอกแน่น กระชับ มีสีเขียวเข้ม ก้านต้องแข็งแรงเหนียวนุ่ม ไม่ควรเลือกซื้อบร็อคโคลี่ที่มีดอกสีเหลือง มีใบเหี่ยวเฉา และมีก้านใบแข็งหรือหนาจนเกินไป
คุณค่าทางโภชนาการของบร็อกโคลี่ ต่อ 100 กรัม
พลังงาน 34 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 6.64 กรัม
น้ำตาล 1.7 กรัม
เส้นใย 2.6 กรัม
ไขมัน 0.37 กรัม
โปรตีน 2.82 กรัม
น้ำ 89.3 กรัม
วิตามินเอ 31 ไมโครกรัม 4%
เบต้าแคโรทีน 361 ไมโครกรัม 3%
ลูทีน และ ซีแซนทีน 1,403 ไมโครกรัม
วิตามินบี1 0.071 มิลลิกรัม 6%
วิตามินบี2 0.117 มิลลิกรัม 10%
วิตามินบี3 0.639 มิลลิกรัม 4%
วิตามินบี5 0.573 มิลลิกรัม 11%
วิตามินบี6 0.175 มิลลิกรัม 13%
วิตามินบี9 63 ไมโครกรัม 16%
วิตามินซี 89.2 มิลลิกรัม 107%
วิตามินอี 0.78 มิลลิกรัม 5%
วิตามินเค 101.6 ไมโครกรัม 97%
ธาตุแคลเซียม 47 มิลลิกรัม 5%
ธาตุเหล็ก 0.73 มิลลิกรัม 6%
ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม 6%
ธาตุแมงกานีส 0.21 มิลลิกรัม 10%
ธาตุซีลีเนียม 2.5 ไมโครกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 66 มิลลิกรัม 9%
ธาตุโพแทสเซียม 316 มิลลิกรัม 7%
ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม 4%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
ประโยชน์ของบร็อคโคลี่
ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
ช่วยบำรุงผิวพรรณ เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวหนัง ช่วยชะลอผิวพรรณไม่ให้เหี่ยวย่น ทำให้ดูอ่อนเยาว์ตลอดเวลา (ซีลีเนียม)
ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก
ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน เรื่องจากบร็อคโคลี่เป็นผักที่มีแคลเซียมสูง
ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยสามารถ
ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระที่จะเข้าไปทำลายเซลล์และทำลาย DNA ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก
ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
ผักในตระกูลกะหล่ำ มีความสัมพันธ์กับการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองได้ (Strokes)
ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งแรงยิ่งขึ้น
ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคปอดร้ายแรง จากงานวิจัยของ ดร.ชีแอม บิสวัล (วิทยาลัยแพทยศาสตร์จอห์นส ฮอฟกินส์ USA) พบว่าสารในบร็อคโคลี่อาจช่วยยับยั้งการทำลายที่นำไปสู่ไปการเป็นโรคปอดร้ายแรง หรือที่เรียกว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ (Chronic Obsructive Pulmonary Disease หรือ COPD) โดยโรค COPD มักมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ โดยสารซัลโฟราเฟนในบร็อคโคลี่จะช่วยส่งเสริมให้ยีน NRF2 ในเซลล์ปอดเกิดกิจกรรมเพิ่มขึ้น จึงช่วยป้องกันเซลล์ดังกล่าวไม่ให้ถูกทำลายจากสารพิษต่างๆในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ได้ และผู้ป่วย COPD ระยะก้าวหน้าจะมีการทำกิจกรรมกับยีน NRF2 ในระดับต่ำกว่ากลุ่มอื่น โดยยีนดังกล่าวจะทำหน้าที่เปิดให้กลไกหลายอย่างเพื่อขับพิษและสารก่อพิษต่างๆทำงาน เพื่อไม่ให้สารพิษทำลายเซลล์ปอด
ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
สารซัลโฟราเฟนสามารถช่วยป้องกันการทำลายของหลอดเลือดที่เกิดจากโรคเบาหวานได้มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยคิง คอลเลจ ลอนดอน ระบุว่ามีเพียงผักผลไม้ 5 ชนิดเท่านั้นที่มีารประกอบที่ทำหน้าที่คล้ายยาที่ใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งได้แก่ บร็อคโคลี่ ส้ม แอปเปิ้ล หัวไชเท้า และมันฝรั่ง โดยบร็อคโคลี่นั้นเป็นผักที่มีสารดังกล่าวมากที่สุด
ช่วยป้องกันความผิดปกติของเด็กแรกเกิด
ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันเนื่องจากบร็อคโคลี่มีวิตามินซีที่สูงมาก
บร็อคโคลี่มีส่วนช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรนลง เนื่องจากเป็นผักที่มีแมกนีเซียมสูง
สารซัลโฟราเฟนในบร็อคโคลี่ เป็นตัวช่วยทำให้ตับขับสารพิษในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบร็อคโคลี่ต้นอ่อนที่มีอายุเพียง 3 วัน
ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
บร็อคโคลี่มีสารเคอร์เซทิน (Quercetin) ซึ่งเป็นตัวช่วยเพิ่มความอึด แรงดี ออกกำลังได้นานขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคหอบหืด ภูมิแพ้ มะเร็ง โรคหัวใจได้อีกด้วย
การรับประทานบร็อคโคลี่จะช่วยป้องกันและลดการลุกลามของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีแนวโน้มการแข่งตัวอย่างรวดเร็ว (งานวิจัยของคุณหมอ Steven Schwartz มหาวิทยาลัย Ohio State University เมือง Columbus)
ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไขข้อ
บร็อกโคลี่มีโฟเลตสูง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรก เพราะช่วยลดความเสี่ยงจากการพิการทางสมองของเด็กรารก
ผักบร็อคโคลี่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น บร็อคโคลี่ผัดกุ้ง ผัดหมี่ ซุป พิซซา พาสต้า เสต็ก สลัด ยำ ฯลฯ หรือจะนำมาใส่กับข้าวผัด ผัดซีอิ้ว ราดหน้า ผัดมักกะโรนีก็ได้เช่นกัน
วิธีทำน้ำบร็อคโคลี่
ให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ก้านบร็อคโคลี่ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้น 10 ชิ้น และแอปเปิ้ล 1/2 ผล
นำบร็อคโคลี่และแอปเปิ้ลมาล้างน้ำให้สะอาด (ให้ล้างน้ำไหลผ่านเป็นเวลา 10-15 นาที)
จากนั้นนำบร็อคโคลี่มาหั่น ปอกเปลือกออกเอาแต่เนื้อขาวใสด้านในแล้วหั่นเป็นชิ้น และหั่นแอปเปิ้ลเป็นชิ้นๆ
หลังจากนั้นนำส่วนผสมที่หั่นไว้ใส่เครื่องคั้นแยกกากก็จะได้น้ําบร็อคโคลี่สดๆ มาดื่มแล้ว


ผักโขม




ผักโขม
ผักโขม หรือ ผักขม ภาษาอังกฤษ Amaranth มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus lividus L. สำหรับชื่อท้องถิ่นอื่นๆก็ได้แก่ ผักโหม ผักหม (ภาคใต้), ผักโหมเกลี้ยง กระเหม่อลอเตอ (แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น ผักโขมเป็นผักที่ขึ้นได้ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ริมทาง ป่าละเมาะ ป่ารกร้าง ส่วนผักผลไม้ของชาวไร่ชาวนา เป็นต้น ในบ้านเราผักโขมนั้นมีอยู่หลากหลายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารได้แก่ ผักโขม ผักโขมสวน ผักโขมหัด ผักโขมหนาม เป็นต้น
ผักโขม ไม่ได้มีรสชาติขมเหมือนที่หลายๆคนเข้าใจ แต่กลับมีรสชาติออกหวานหน่อยๆด้วยซ้ำ กินง่ายแน่นอนแถมยังมีโปรตีนสูง กรดอะมิโน วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินบี6 วิตามินบี9 วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุทองแดง ธาตุแมงกานีส ธาตุสังกะสี เป็นต้น
แต่ผักโขมมีปริมาณของสารออกซาเลตค่อนข้างสูง (Oxalate) ผู้ที่มีเป็นโรคนิ่ว โรคเกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือผู้ที่ต้องการสะสมปริมาณของแคลเซียมควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชนิดนี้ในปริมาณมากๆ มีคำแนะนำว่าการปรุงอาหารด้วยวิธีการทอด การคั่ว จะช่วยลดปริมาณสารออกซาเลตได้ดีที่สุด แต่การนำไปนึ่งหรือต้มจะช่วยลดลงได้บ้างระดับหนึ่ง!
ทำความเข้าใจกันก่อน ผักโขม กับ ปวยเล้ง มันคือผักคนละชนิดกัน ต้องแยกให้ออก ถ้าใครเคยดูการ์ตูนเรื่องป๊อปอายที่เห็นว่ากินผักแล้วช่วยเพิ่มพลัง ผักที่ป๊อปอายกินจริงๆแล้วมันก็คือ ปวยเล้ง หรือ Spinach (ออกเสียงว่า สปีแนช”) แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามผักสองชนิดนี้ก็คือสปีชีส์เดียวกัน คุณสมบัติทางด้านโภชนาการจะคล้ายๆกัน (แต่ผักโขมจะมีธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามินซี สูงกว่าปวยเล้งหลายเท่า) และต่างกันแต่เพียงลักษณะภายนอกและรสชาติเล็กน้อย และยังรวมถึงเรื่องราคาซึ่งผักปวยเล้งจะมีราคาแพงกว่าประมาณเท่าตัว (ที่มา : http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2007/07/D5591888/D5591888.html)
ประโยชน์ของผักโขม
ผักโขม ช่วยบำรุงกำลังทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
ผักโขมมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย
ช่วยส่งเสริมการสร้างคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง จึงช่วยชะลอการเกิดริ้วรอได้
ประโยชน์ของผักโขม ช่วยบำรุงและรักษาสุขภาพสายตา ป้องกันความเสื่อมของดวงตา
มีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน
ช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง ชะลอปัญหาความจำเสื่อม
ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
ช่วยรักษาจังหวะการเต้นของหัวใจให้คงที่
ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการเบื่ออาหาร
เป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากกับผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติ เพราะผักโขมอุดมไปด้วยโปรตีน
มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้
แมกนีเซียมในผักโขมช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
ช่วยชะลอความเสื่อมของสายตา ลดความเสี่ยงจากการโรคดวงตาเสื่อมได้สูงถึง 43%
ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งรังไข่
ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
ใช้ถอนพิษไข้ ด้วยการนำรากมาปรุงเป็นยา(ราก)
ผักโขม สรรพคุณช่วยดับพิษภายในและภายนอก (ทั่งต้น)
วิตามินเคในผักโขมช่วยป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้
ช่วยแก้อาการตกเลือด
ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอกและไอหอบ (ต้น)
ใช้แก้อาการบิด มูกเลือด (ทั่งต้น)
ช่วยแก้อาการแน่นท้อง
ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้สะดวก เพราะมีเส้นใยสูง
ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารและจมูก (ทั่งต้น)
สรรพคุณของผักโขม ช่วยแก้อาการปวดท้องประจำเดือน เพราะช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณช่องท้อง
ใช้แก้ผดผื่นคัน (ทั่งต้น)
ผักโขมประโยชน์ช่วยรักษาฝี กลาก เกลื้อน (ทั่งต้น)
ใช้รักษาแผลพุพอง (ทั่งต้น,ใบสด)
สรรพคุณผักโขม ช่วยแก้อาการช้ำใน
ใช้แก้รำมะนาด (ทั่งต้น)
การรับประทานผักโขมจะช่วยทำให้คุณรู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและอยู่ท้องนาน จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วน
แก้อาการเด็กลิ้นเป็นฝ้าละอองและเบื่ออาหาร
ซุปผักโขม เป็นเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์อย่างมาก เพราะมีประโยชน์หลากหลายและยังช่วยบำรุงร่างกายคุณแม่และเด็กมีสุขภาพแข็งแรง
ผักโขมเป็นผักที่ช่วยบำรุงน้ำนมสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนได้เป็นอย่างดี
สำหรับชาวกรีกสมัยโบราณผักโขมถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ และมีการใช้ภาพของใบผักโขมในการประดับที่อยู่ของหลุมศพต่างๆ
ประโยชน์ผักโขม ใบอ่อน ยอดอ่อน ต้นอ่อน นำมาลวกหรือต้มให้สุกรับประทานเป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำพริกปลาร้า กะปิ ปลาต่อม หรือจะนำมานึ่งพร้อมกับปลา หรือจะนำไปทำแกงเลียง หรือจะทำเป็นผัดผัก ผักโขมอมชีส พายผักโขมอบชีส ผักโขมราดซอสงาขาว ปอเปี๊ยะไส้ผักโขมชีส ซุปครีมผักโขม ซุปผักโขม เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


ถั่วฝักยาว




ถั่วฝักยาว ภาษาอังกฤษ Yard Long bean
ถั่วฝักยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis
ถั่วฝักยาวจัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) เช่นเดียวกันกับถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลันเตาถั่วลิสง และถั่วพู โดยมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย จัดเป็นฝักที่มีชาวเอเชียนิยมรับประทาน และยังเป็นผักที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย เพราะนอกจากจะใช้ปรุงเป็นอาหารได้อย่างหลากหลายแล้ว ยังใช้เป็นวัตถุดิบในด้านอุตสาหกรรมแช่แข็งและบรรจุกระป๋องอีกด้วย
ลักษณะของต้นถั่วฝักยาว ลำต้นเป็นไม้เลื้อย เถาเป็นสีเขียวอ่อน เถาจะแข็งและเหนียวคล้ายกับถั่วพู ลักต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ ลักษณะของใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อยลักษณะคล้ายรูสามเหลี่ยมยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ส่วนลักษณะของดอกถั่วฝักยาว จะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีขาว (หรือน้ำเงินอ่อน) ฝักมีลักษณะกลม (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร) ยาวประมาณ20-80 เซนติเมตร และในฝักมีเมล็ดอยู่หลายเมล็ด
ถั่วฝักยาว ประกอบไปด้วยด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญๆหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินบี ธาตุเหล็ก ซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม และที่สำคัญยังเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินซี โฟเลต แมกนีเซียมและแมงกานีสอีกด้วย ซึ่งนับว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกายเลยทีเดียว
ถั่วฝักยาวแม้จะมีประโยชน์แต่สิ่งที่คุณต้องระวังให้มากนั่นก็คือสารพิษจากยาฆ่าแมลงตกค้าง ซึ่งจากการสุ่มตรวจเพื่อหาการตกค้างของยา ฆ่าแมลงในกลุมคาร์บาร์เมตและไพรีทรอยด์ ก็มักจะพบสารเหล่านี้แทบทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารไซเมอร์เมทรินและเมโทมิลที่ไม่รู้จักหมดไปเสียที ซึ่งวิธีการป้องกันง่ายๆสำหรับผู้บริโภค คือ การนำผักมาล้างให้สะอาดหลายๆครั้ง เพื่อลดปริมาณยาฆ่าแมลงที่ตกค้างให้เจือจางลงกว่าเดิม เพื่อความปลอดภัยและไม่ให้เป็นโทษต่อร่างกาย
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วฝักยาวต่อ 100 กรัม
พลังงาน 47 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 8.35 กรัม
ไขมัน 0.4 กรัม
โปรตีน 2.8 กรัม
วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม 5%
วิตามินบี1 0.107 มิลลิกรัม 9%
วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม 9%
วิตามินบี3 0.41 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี5 0.55 มิลลิกรัม 11%
วิตามินบี6 0.024 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี9 62 ไมโครกรัม 16%
วิตามินซี 18.8 มิลลิกรัม 23%
ธาตุแคลเซียม 50 มิลลิกรัม 5%
ธาตุเหล็ก 0.47 มิลลิกรัม 4%
ธาตุแมกนีเซียม 44 มิลลิกรัม 12%
ธาตุแมงกานีส 0.205 มิลลิกรัม 10%
ธาตุฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม 8%
ธาตุโพแทสเซียม 240 มิลลิกรัม 5%
ธาตุสังกะสี 0.37 มิลลิกรัม 4%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
ประโยชน์ของถั่วฝักยาว
สรรพคุณของถั่วฝักยาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
ฟอสฟอรัสมีส่วนช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน
วิตามินซีช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดโรคหวัด
ถั่วฝักยาวประโยชน์ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
ช่วยแก้กระหาย ด้วยรสชุ่มชื่น ด้วยการใช้เมล็ดแห้งหรือสดนำมาคั้นสดหรือต้มกับกินกับน้ำ(เมล็ด)
ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้เมล็ดแห้งหรือสดนำมาคั้นสดหรือต้มกับกินกับน้ำ (เมล็ด)
สำหรับเด็กที่เบื่ออาหาร เนื่องจากกระเพาะอาหารทำงานไม่ดี ให้ใช้รากสดนำมาผสมกับรากเถาตดหมาตดหมู แล้วนำมาตุ๋นกับเนื้อวัวกินจะช่วยแก้อาการเบื้ออาการได้ (ราก)
ถั่วฝักยาวสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้อง เรอเปรี้ยว ด้วยการเคี้ยวฝักสดกิน (ฝัก)
ใช้ใบสดประมาณ 60-100 กรัมนำมาต้มกับน้ำใช้รักษารักษาโรคหนองในและอาการปัสสาวะเป็นหนอง (ใบ)
ใช้เป็นยาบำรุงม้ามและไต ด้วยการใช้เมล็ดแห้งหรือสดนำมาคั้นสดหรือต้มกับกินกับน้ำ หรือจะใช้รากนำมาตุ๋นกินเนื้อก็ได้เช่นกัน (ฝัก,ราก,เมล็ด)
สรรพคุณถั่วฝักยาวสดหรือเมล็ด นำมาต้มกับน้ำผสมกับเกลือนำมารับประทานเป็นยาบำรุงไต (ฝัก,เมล็ด)
ใช้รากสดนำไปเผาแล้วบดจนละเอียดผสมกับน้ำแล้วใช้ทาเป็นยารักษาโรคหนองในที่หนองไหล (ราก)
ถั่วฝักยาวสรรพคุณทางยาช่วยรักษาฝีเนื้อร้าย ช่วยทำให้เนื้อเยื่อเจริญเร็วขึ้น ด้วยการใช้รากสดนำไปเผาแล้วบดจนละเอียดผสมกับน้ำแล้วใช้ทาบริเวณที่เป็น (ราก)
ช่วยแก้อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ด้วยการใช้เมล็ดแห้งหรือสดนำมาคั้นสดหรือต้มกับกินกับน้ำ (เมล็ด)
ช่วยแก้ตกขาว ด้วยการใช้เมล็ดแห้งหรือสดและผักบุ้งนำมาตุ๋นกับเนื้อไก่รับประทานจะช่วยแก้อาการตกขาวได้ (เมล็ด)
ช่วยรักษาอาการปวดบวม ปวดตามเอว และรักษาแผลที่เต้านม ด้วยการใช้เปลือกฝักประมาณ 100-150 กรัมนำมาต้มกิน หรือใช้ภายนอกด้วยการนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ปวด (เปลือกฝัก)
เมนูถั่วฝักยาว เช่น แกงส้มถั่วฝักยาว ถั่วฝักยาวผัดกะปิกุ้ง ถั่วฝักยาวผัดกุ้ง หมูผัดพริกแกงถั่วฝักยาว ผัดเป็ดถั่วฝักยาวหมูสับ หมูผัดเต้าเจี้ยวถั่วฝักยาว ผัดพริกขิงหมูใส่ถั่วฝักยาว กระเพาะหมูใส่ถั่วฝักยาว ถั่วฝักยาวผัดเต้าหู้ยี้ ฯลฯ
คำแนะนำ : สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูก ไม่ควรนำมาเมล็ดของถั่วฝักยาวมารับประทาน
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), เว็บไซต์เดอะแดนดอทคอม, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ปรับปรุงเนื้อหาครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2013 เวลา 17:36 น.